หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Master of Science Program in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University

ข่าวกิจกรรม

กิจกรรมเสริมหลักสูตร - การอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้กล้องจุลทรรศน์
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้เชิญชวนนักศึกษาและคณาจารย์ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมการใช้กล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านอณูชีววิทยา วิทยากรได้ให้ความรู้แก่ผู้อบรม ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้อบรมได้ปฏิบัติการจริง โดยการใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพจากตัวอย่างทั้งเซลล์แบคทีเรีย เซลล์ไลน์จากสัตว์ และเซลล์พืช ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ประสบการณ์และพื้นฐานเบื้องต้นในการนำไปปฏิบัติงานในการเรียนการสอน และการวิจัยต่อไป
10 พฤศจิกายน 2566
กิจกรรมการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1/2566
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 2402 อาคาร 60 ปีแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีนักศึกษาในรายวิชา 20302002 สัมมนา 2 และวิชา 20302003 สัมมนา 3 ในหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2565 ได้แก่ นายนที จันทร์ดวง นางสาวสมพร สระแก้ว นางสาวนภัสญาณ์ หล้ากาวี นางสาวฐิศิรักษ์ อินแก้ววงศ์ และนางสาวชลดา ปาทำมา เป็นผู้นำเสนองาน มีผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ศิษย์เก่า และ external stakeholders ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย โขนงนุช (กรรมการในการปรับปรุงหลักสูตรฯ พ.ศ. 2565) และคุณมัลลิกา ศุภอักษร ผู้จัดการบริษัท ออล อะเบ๊าท์ เอ็กซ์แทรกท์ จำกัด (ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง)บรรยากาศการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีความเป็นกันเอง แต่ยังคงความวิชาการไว้ตามเป้าหมายของหลักสูตรฯ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนได้รับ feedback และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งจะนำไปพัฒนาการดำเนินงานของหลักสูตรฯ และช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรฯ (Program Learning Outcomes; PLOs) ต่อไป
10 พฤศจิกายน 2566
กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้นักศึกษาของหลักสูตรได้เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์การปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตจริงของภาคอุตสาหกรรม อีกทั้ง เชื่อมโยงองค์ความรู้และทฤษฎีด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการประยุกต์ใช้ผลิตอาหาร สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และหลักสูตรทั้งสองที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) และเปิดโลกทัศน์ของตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2566 ณ บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ จังหวัดกำแพงเพชร และบริษัทเบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) จังหวัดกำแพงเพชรโดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จุฑามาศ มณีวงศ์เป็นผู้ดูแลนักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ มีนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 19 คน โดยเป็นนักศึกษาในหลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน 10 คน
23 กรกฎาคม 2566
นักศึกษาหลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพ ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดภาพถ่าย
จากการที่คณาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มีส่วนร่วมในโครงการ Sustainable Solid Waste Management and Policies (SWAP) ในปีงบประมาณ 2563-2565 จึงได้สนับสนุนให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย (raising awareness) ให้แก่ชุมชน โดยทางภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสมาชิกในโครงการได้จัดกิจกรรมประกวดภาพถ่าย (photo challenge campaign 2023) ในหัวข้อ Wasting your waste is such a wasteนักศึกษาในหลักสูตรฯ ได้แก่ นางสาววราทิพย์ ชวนคิด และชนัญชิดา ทาเจริญ ได้รับรางวัลชมเชยจากการร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทางหลักสูตรฯ จึงขอแสดงความยินดีมาในโอกาสนี้นอกจากนี้นักศึกษายังมีส่วนช่วยในการต้อนรับคณะทำงาน SWAP จากต่างประเทศที่มาร่วมงาน SWAP Consortium and quality committee meeting และ site visit ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
23 กรกฎาคม 2566
โครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ
ในวันที่ 25 มกราคม 2566 ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจบัน และบุคลากรเข้าร่วมงานหลักการและเหตุผลของโครงการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stake holders) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายภาคส่วน ทั้งนี้ผู้รับชอบหลักสูตรได้ประเมินแล้วพบว่ากลุ่มศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคลากร คือกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการทำงานที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน (reskill) รวมถึงต้องเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ที่แตกต่างไปหรือสูงขึ้นจากงานเดิมที่ทำอยู่ (upskill) อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีกฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดทั้งระดับชาติและระดับสากลที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการ reskill และ upskill อย่างต่อเนื่องให้กับบุคลากรเหล่านี้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดแรงงานที่ในยุคปัจจุบันได้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมอาหารจัดว่าเป็นกลุ่มงานวิจัยที่มีบุคลากรและศิษย์ปัจจุบันของหลักสูตรให้ความสนใจศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้งานบัณฑิตและภาคเอกชนผู้รับบริการของหลักสูตรฯ อีกทั้งมีศิษย์เก่าหลายท่านทำงานในอุตสาหกรรมอาหารและบางท่านเป็นผู้ประกอบการแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพด้วย ดังนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้วางแผนจัดโครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพครั้งนี้ขึ้น เพื่อประโยชน์เพิ่มประสิทธิในการทำงานของบุคลากร ศิษย์ปัจจุบัน และศิษย์เก่าให้สูงขึ้น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะการต่อยอดงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหารเพื่อการขอขึ้นทะเบียนอาหาร ลักษณะกิจกรรม1. อบรมโดยบรรยายให้ความรู้2. เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
30 มกราคม 2566
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพจัดกิจกรรมการสัมมนาระดับบัณฑิตศึกษาประจำภาคการศึกษา 1/2565
ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 หลักสูตรบัณฑิตศึกษา (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดกิจกรรมการนำเสนองานวิจัยและการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยมีนักศึกษานำเสนอผลงานในระดับมหาบัณฑิต 8 คน และในระดับดุษฎีบัณฑิต 2 คน นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาและคณาจารย์เข้าร่วมฟัง ซักถาม และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการทำวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ยังได้มีการรายงานความก้าวหน้า (progress) ของการทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์เพื่อช่วยติดตามอย่างใกล้ชิด และกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการนำตนเอง (self-motivation) ในการทำวิจัย
27 ตุลาคม 2565