หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Master of Science Program in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University

ด้วยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย โดยมีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลจากการจัดส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมนำเสนอและประกวดในระดับชาติและนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่นักวิจัย สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดให้มีพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่คณะนักวิจัยดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 19/2565 ในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย

ในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย ได้มีนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าร่วมรับรางวัล ได้แก่ 
นางสาวปริญญานุช ปินนิล และนางสาวนิรัชชา สุริยา จากผลงานการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp.pergrina (Craib) Roekm.) ที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเทคนิค HAT-RAPD ร่วมกับอาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย และอาจารย์ ดร.รัฐพร จันทร์เดช

นางสาว วราทิพย์ ชวนคิด และชนัญชิดา ทาเจริญ จากผลงาน Chemical Composition and Biological Properties of the Yellow Star (Schoutenia glomerata King subsp.peregrina (Craib) Roekm.) Extracts ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารวี กาญจนประโชติ อาจารย์ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช และอาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุล

นอกจากนี้ยังมีผลงานจากบุคลากรในหลักสูตร ได้แก่ "ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต่อการเพิ่มปริมาณต้นเอื้องคำในสภาพปลอดเชื้อ" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ภูมิสุทธาผล และอาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และ "The Golden Orchid (Dendrobium chrysotoxum Lindl.) Extracts polysaccharides, Reducing Sugars, Soluble-Proteins, and Their Antibacterial Properties" โดยนางสาวรุ่งทิพย์ กาวารี อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และอาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุล

ผลงานดังกล่าวได้รับจากการประชุมวิชาการชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ อาคารเรียนรวม 6 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทางหลักสูตรฯ จึงขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาและนักวิจัยมาในโอกาสนี้ 

ปรับปรุงข้อมูล : 9/11/2565 19:32:55     ที่มา : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 292

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

หลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
วันพุธและพฤหัสบดีที่ 26-27 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการสกัดดีเอ็นเอและวิเคราะห์คุณภาพของดีเอ็นเอ ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียน 3/9 และ 3/10 และกิจกรรมเพิ่มพูนทักษะทางชีวเคมีในชีวิตประจำวัน ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องเรียน 2/9 และ 2/10 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และนักศึกษาในหลักสูตร สามารถใช้กิจกรรมในโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติงานทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาของหลักสูตรบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs) โดยเฉพาะ PLO2 - มีทักษะการปฏิบัติงานขั้นสูงในสายงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และ PLO5 - สามารถวิเคราะห์และใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน/ขั้นสูงในการปฏิบัติงานได้ ยังช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ดำเนินการตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นในผู้เรียนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการสื่อสาร และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
29 มิถุนายน 2567     |      72
หลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพจัดสอบสัมภาษณ์เพื่อการเข้าศึกษาต่อในภาคการศึกษา 1-2567
ในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดให้มีการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยมีผู้ทำการสอบคัดเลือก 2 รายได้แก่ นางสาวพิณญาพร วงค์สามาร และนางสาวเวียงพิงค์ ขัดสีแสง ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและการสรุปความจากวารสารทางวิชาการเพิ่มเติม เพื่อทางหลักสูตรฯจะทำการออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตรให้แก่นักศึกษาต่อไป
12 มิถุนายน 2567     |      72
กิจกรรมเสริมหลักสูตร - สร้างเสริมสมรรถนะในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการปฏิบัติงาน
ในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยมีอาจารย์ ดร.วันฉัตร ศิริสาร อาจารย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา (severe microbial resistance) ในหัวข้อยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคนิคทางจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยาในงานวิจัย ตลอดจนแนะนำการนำเสนอผลงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการปฏิบัติงาน (PLO3) และการสังเคราะห์/ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ได้อย่างมีจรรยาบรรณทางวิชาการ (PLO4) ต่อไปนอกจากนี้ผู้เรียนยังได้มีโอกาสในการสนทนาทางวิขาการและแลกเปลี่ยนมุมมองในการแก้ปัญหางานวิจัย (วิทยานิพนธ์) ของตนเองกับวิทยากร เพื่อได้รับมุมมองในการทำงานเพิ่มเติมจากที่ปรึกษา/กลุ่มวิจัยของตนเอง และเพื่อการนำไปพัฒนาตนเองต่อไป
7 มิถุนายน 2567     |      127