หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Master of Science Program in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University

ด้วยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย โดยมีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลจากการจัดส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมนำเสนอและประกวดในระดับชาติและนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่นักวิจัย สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดให้มีพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่คณะนักวิจัยดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 19/2565 ในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย

ในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย ได้มีนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าร่วมรับรางวัล ได้แก่ 
นางสาวปริญญานุช ปินนิล และนางสาวนิรัชชา สุริยา จากผลงานการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp.pergrina (Craib) Roekm.) ที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเทคนิค HAT-RAPD ร่วมกับอาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย และอาจารย์ ดร.รัฐพร จันทร์เดช

นางสาว วราทิพย์ ชวนคิด และชนัญชิดา ทาเจริญ จากผลงาน Chemical Composition and Biological Properties of the Yellow Star (Schoutenia glomerata King subsp.peregrina (Craib) Roekm.) Extracts ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารวี กาญจนประโชติ อาจารย์ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช และอาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุล

นอกจากนี้ยังมีผลงานจากบุคลากรในหลักสูตร ได้แก่ "ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต่อการเพิ่มปริมาณต้นเอื้องคำในสภาพปลอดเชื้อ" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ภูมิสุทธาผล และอาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และ "The Golden Orchid (Dendrobium chrysotoxum Lindl.) Extracts polysaccharides, Reducing Sugars, Soluble-Proteins, and Their Antibacterial Properties" โดยนางสาวรุ่งทิพย์ กาวารี อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และอาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุล

ผลงานดังกล่าวได้รับจากการประชุมวิชาการชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ อาคารเรียนรวม 6 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทางหลักสูตรฯ จึงขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาและนักวิจัยมาในโอกาสนี้ 

ปรับปรุงข้อมูล : 9/11/2565 19:32:55     ที่มา : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 236

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

งานสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 2/2566
ในวันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดงานสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 2/2566 โดยมี Dr. Kuanqing Liu จาก Tianjin Institute of Industrial Biotechnology (TIB), Chinese Academy of Sciences นำเสนองานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในสถาบัน TIB เพื่อให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เข้าฟัง จากนั้นได้มีการนำเสนองานของผู้เรียนในรายวิชา 20302001 สัมมนา 1 รายวิชา 20302003 สัมมนา 3 และ รายวิชา 20302004 สัมมนา 4 รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร ศิษย์เก่า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก (external stakeholders) ให้คำแนะนำและทำการประเมินการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes; PLOs) ของผู้เรียนเป็นรายคน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการหารือและรับข้อมูลเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรแบบ real-time
12 พฤษภาคม 2567     |      25
กิจกรรมเสริมหลักสูตร - การอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้กล้องจุลทรรศน์
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้เชิญชวนนักศึกษาและคณาจารย์ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมการใช้กล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านอณูชีววิทยา วิทยากรได้ให้ความรู้แก่ผู้อบรม ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้อบรมได้ปฏิบัติการจริง โดยการใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพจากตัวอย่างทั้งเซลล์แบคทีเรีย เซลล์ไลน์จากสัตว์ และเซลล์พืช ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ประสบการณ์และพื้นฐานเบื้องต้นในการนำไปปฏิบัติงานในการเรียนการสอน และการวิจัยต่อไป
10 พฤศจิกายน 2566     |      238
กิจกรรมการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1/2566
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 2402 อาคาร 60 ปีแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีนักศึกษาในรายวิชา 20302002 สัมมนา 2 และวิชา 20302003 สัมมนา 3 ในหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2565 ได้แก่ นายนที จันทร์ดวง นางสาวสมพร สระแก้ว นางสาวนภัสญาณ์ หล้ากาวี นางสาวฐิศิรักษ์ อินแก้ววงศ์ และนางสาวชลดา ปาทำมา เป็นผู้นำเสนองาน มีผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ศิษย์เก่า และ external stakeholders ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย โขนงนุช (กรรมการในการปรับปรุงหลักสูตรฯ พ.ศ. 2565) และคุณมัลลิกา ศุภอักษร ผู้จัดการบริษัท ออล อะเบ๊าท์ เอ็กซ์แทรกท์ จำกัด (ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง)บรรยากาศการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีความเป็นกันเอง แต่ยังคงความวิชาการไว้ตามเป้าหมายของหลักสูตรฯ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนได้รับ feedback และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งจะนำไปพัฒนาการดำเนินงานของหลักสูตรฯ และช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรฯ (Program Learning Outcomes; PLOs) ต่อไป
10 พฤศจิกายน 2566     |      141