หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Master of Science Program in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 2402 อาคาร 60 ปีแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีนักศึกษาในรายวิชา 20302002 สัมมนา 2 และวิชา 20302003 สัมมนา 3 ในหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2565 ได้แก่ นายนที จันทร์ดวง นางสาวสมพร สระแก้ว นางสาวนภัสญาณ์ หล้ากาวี นางสาวฐิศิรักษ์ อินแก้ววงศ์ และนางสาวชลดา ปาทำมา เป็นผู้นำเสนองาน มีผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ศิษย์เก่า และ external stakeholders ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย โขนงนุช (กรรมการในการปรับปรุงหลักสูตรฯ พ.ศ. 2565) และคุณมัลลิกา ศุภอักษร ผู้จัดการบริษัท ออล อะเบ๊าท์ เอ็กซ์แทรกท์ จำกัด (ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง)

บรรยากาศการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีความเป็นกันเอง แต่ยังคงความวิชาการไว้ตามเป้าหมายของหลักสูตรฯ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนได้รับ feedback และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งจะนำไปพัฒนาการดำเนินงานของหลักสูตรฯ และช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรฯ (Program Learning Outcomes; PLOs) ต่อไป

ปรับปรุงข้อมูล : 10/11/2566 8:06:25     ที่มา : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 211

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม อื่นๆ

ข่าวล่าสุด

หลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
วันพุธและพฤหัสบดีที่ 26-27 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการสกัดดีเอ็นเอและวิเคราะห์คุณภาพของดีเอ็นเอ ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียน 3/9 และ 3/10 และกิจกรรมเพิ่มพูนทักษะทางชีวเคมีในชีวิตประจำวัน ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องเรียน 2/9 และ 2/10 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และนักศึกษาในหลักสูตร สามารถใช้กิจกรรมในโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติงานทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาของหลักสูตรบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs) โดยเฉพาะ PLO2 - มีทักษะการปฏิบัติงานขั้นสูงในสายงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และ PLO5 - สามารถวิเคราะห์และใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน/ขั้นสูงในการปฏิบัติงานได้ ยังช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ดำเนินการตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นในผู้เรียนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการสื่อสาร และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
29 มิถุนายน 2567     |      71
หลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพจัดสอบสัมภาษณ์เพื่อการเข้าศึกษาต่อในภาคการศึกษา 1-2567
ในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดให้มีการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยมีผู้ทำการสอบคัดเลือก 2 รายได้แก่ นางสาวพิณญาพร วงค์สามาร และนางสาวเวียงพิงค์ ขัดสีแสง ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและการสรุปความจากวารสารทางวิชาการเพิ่มเติม เพื่อทางหลักสูตรฯจะทำการออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตรให้แก่นักศึกษาต่อไป
12 มิถุนายน 2567     |      71
กิจกรรมเสริมหลักสูตร - สร้างเสริมสมรรถนะในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการปฏิบัติงาน
ในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยมีอาจารย์ ดร.วันฉัตร ศิริสาร อาจารย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา (severe microbial resistance) ในหัวข้อยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคนิคทางจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยาในงานวิจัย ตลอดจนแนะนำการนำเสนอผลงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการปฏิบัติงาน (PLO3) และการสังเคราะห์/ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ได้อย่างมีจรรยาบรรณทางวิชาการ (PLO4) ต่อไปนอกจากนี้ผู้เรียนยังได้มีโอกาสในการสนทนาทางวิขาการและแลกเปลี่ยนมุมมองในการแก้ปัญหางานวิจัย (วิทยานิพนธ์) ของตนเองกับวิทยากร เพื่อได้รับมุมมองในการทำงานเพิ่มเติมจากที่ปรึกษา/กลุ่มวิจัยของตนเอง และเพื่อการนำไปพัฒนาตนเองต่อไป
7 มิถุนายน 2567     |      127