หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Master of Science Program in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University
หลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
วันพุธและพฤหัสบดีที่ 26-27 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการสกัดดีเอ็นเอและวิเคราะห์คุณภาพของดีเอ็นเอ ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียน 3/9 และ 3/10 และกิจกรรมเพิ่มพูนทักษะทางชีวเคมีในชีวิตประจำวัน ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องเรียน 2/9 และ 2/10 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และนักศึกษาในหลักสูตร สามารถใช้กิจกรรมในโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติงานทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาของหลักสูตรบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs) โดยเฉพาะ PLO2 - มีทักษะการปฏิบัติงานขั้นสูงในสายงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และ PLO5 - สามารถวิเคราะห์และใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน/ขั้นสูงในการปฏิบัติงานได้ ยังช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ดำเนินการตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นในผู้เรียนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการสื่อสาร และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
29 มิถุนายน 2567     |      71
หลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพจัดสอบสัมภาษณ์เพื่อการเข้าศึกษาต่อในภาคการศึกษา 1-2567
ในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดให้มีการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยมีผู้ทำการสอบคัดเลือก 2 รายได้แก่ นางสาวพิณญาพร วงค์สามาร และนางสาวเวียงพิงค์ ขัดสีแสง ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและการสรุปความจากวารสารทางวิชาการเพิ่มเติม เพื่อทางหลักสูตรฯจะทำการออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตรให้แก่นักศึกษาต่อไป
12 มิถุนายน 2567     |      71
กิจกรรมเสริมหลักสูตร - สร้างเสริมสมรรถนะในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการปฏิบัติงาน
ในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยมีอาจารย์ ดร.วันฉัตร ศิริสาร อาจารย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยา (severe microbial resistance) ในหัวข้อยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคนิคทางจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยาในงานวิจัย ตลอดจนแนะนำการนำเสนอผลงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการปฏิบัติงาน (PLO3) และการสังเคราะห์/ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ได้อย่างมีจรรยาบรรณทางวิชาการ (PLO4) ต่อไปนอกจากนี้ผู้เรียนยังได้มีโอกาสในการสนทนาทางวิขาการและแลกเปลี่ยนมุมมองในการแก้ปัญหางานวิจัย (วิทยานิพนธ์) ของตนเองกับวิทยากร เพื่อได้รับมุมมองในการทำงานเพิ่มเติมจากที่ปรึกษา/กลุ่มวิจัยของตนเอง และเพื่อการนำไปพัฒนาตนเองต่อไป
7 มิถุนายน 2567     |      127
งานสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 2/2566
ในวันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดงานสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 2/2566 โดยมี Dr. Kuanqing Liu จาก Tianjin Institute of Industrial Biotechnology (TIB), Chinese Academy of Sciences นำเสนองานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในสถาบัน TIB เพื่อให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เข้าฟัง จากนั้นได้มีการนำเสนองานของผู้เรียนในรายวิชา 20302001 สัมมนา 1 รายวิชา 20302003 สัมมนา 3 และ รายวิชา 20302004 สัมมนา 4 รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร ศิษย์เก่า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก (external stakeholders) ให้คำแนะนำและทำการประเมินการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes; PLOs) ของผู้เรียนเป็นรายคน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการหารือและรับข้อมูลเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรแบบ real-time
12 พฤษภาคม 2567     |      78
กิจกรรมเสริมหลักสูตร - การอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้กล้องจุลทรรศน์
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้เชิญชวนนักศึกษาและคณาจารย์ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมการใช้กล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านอณูชีววิทยา วิทยากรได้ให้ความรู้แก่ผู้อบรม ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้อบรมได้ปฏิบัติการจริง โดยการใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพจากตัวอย่างทั้งเซลล์แบคทีเรีย เซลล์ไลน์จากสัตว์ และเซลล์พืช ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ประสบการณ์และพื้นฐานเบื้องต้นในการนำไปปฏิบัติงานในการเรียนการสอน และการวิจัยต่อไป
10 พฤศจิกายน 2566     |      350
กิจกรรมการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1/2566
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพได้จัดการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 2402 อาคาร 60 ปีแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีนักศึกษาในรายวิชา 20302002 สัมมนา 2 และวิชา 20302003 สัมมนา 3 ในหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2565 ได้แก่ นายนที จันทร์ดวง นางสาวสมพร สระแก้ว นางสาวนภัสญาณ์ หล้ากาวี นางสาวฐิศิรักษ์ อินแก้ววงศ์ และนางสาวชลดา ปาทำมา เป็นผู้นำเสนองาน มีผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ศิษย์เก่า และ external stakeholders ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย โขนงนุช (กรรมการในการปรับปรุงหลักสูตรฯ พ.ศ. 2565) และคุณมัลลิกา ศุภอักษร ผู้จัดการบริษัท ออล อะเบ๊าท์ เอ็กซ์แทรกท์ จำกัด (ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง)บรรยากาศการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีความเป็นกันเอง แต่ยังคงความวิชาการไว้ตามเป้าหมายของหลักสูตรฯ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนได้รับ feedback และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งจะนำไปพัฒนาการดำเนินงานของหลักสูตรฯ และช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรฯ (Program Learning Outcomes; PLOs) ต่อไป
10 พฤศจิกายน 2566     |      211
กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้นักศึกษาของหลักสูตรได้เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์การปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตจริงของภาคอุตสาหกรรม อีกทั้ง เชื่อมโยงองค์ความรู้และทฤษฎีด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการประยุกต์ใช้ผลิตอาหาร สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และหลักสูตรทั้งสองที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) และเปิดโลกทัศน์ของตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2566 ณ บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ จังหวัดกำแพงเพชร และบริษัทเบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) จังหวัดกำแพงเพชรโดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.จุฑามาศ มณีวงศ์เป็นผู้ดูแลนักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ มีนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 19 คน โดยเป็นนักศึกษาในหลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน 10 คน
23 กรกฎาคม 2566     |      36007
นักศึกษาหลักสูตรวท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพ ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดภาพถ่าย
จากการที่คณาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มีส่วนร่วมในโครงการ Sustainable Solid Waste Management and Policies (SWAP) ในปีงบประมาณ 2563-2565 จึงได้สนับสนุนให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย (raising awareness) ให้แก่ชุมชน โดยทางภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสมาชิกในโครงการได้จัดกิจกรรมประกวดภาพถ่าย (photo challenge campaign 2023) ในหัวข้อ Wasting your waste is such a wasteนักศึกษาในหลักสูตรฯ ได้แก่ นางสาววราทิพย์ ชวนคิด และชนัญชิดา ทาเจริญ ได้รับรางวัลชมเชยจากการร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทางหลักสูตรฯ จึงขอแสดงความยินดีมาในโอกาสนี้นอกจากนี้นักศึกษายังมีส่วนช่วยในการต้อนรับคณะทำงาน SWAP จากต่างประเทศที่มาร่วมงาน SWAP Consortium and quality committee meeting และ site visit ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
23 กรกฎาคม 2566     |      6227
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เข้ารับการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระบบ AUN-QA
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาระบบ AUN-QA ver. 4 ในวันที่ 7 มิถุนายน 2566 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลักสูตรฯได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ สายสนับสนุนวิชาการ ศิษย์ปัจจุบัน และศิษย์เก่า ตลอดจนบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี และจะนำผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรไปปรับปรุงและพัฒนา เพื่อการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการที่ดีขึ้นในปีต่อไป 
10 มิถุนายน 2566     |      113
โครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ
ในวันที่ 25 มกราคม 2566 ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจบัน และบุคลากรเข้าร่วมงานหลักการและเหตุผลของโครงการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stake holders) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายภาคส่วน ทั้งนี้ผู้รับชอบหลักสูตรได้ประเมินแล้วพบว่ากลุ่มศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคลากร คือกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการทำงานที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน (reskill) รวมถึงต้องเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ที่แตกต่างไปหรือสูงขึ้นจากงานเดิมที่ทำอยู่ (upskill) อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีกฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดทั้งระดับชาติและระดับสากลที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการ reskill และ upskill อย่างต่อเนื่องให้กับบุคลากรเหล่านี้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดแรงงานที่ในยุคปัจจุบันได้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมอาหารจัดว่าเป็นกลุ่มงานวิจัยที่มีบุคลากรและศิษย์ปัจจุบันของหลักสูตรให้ความสนใจศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้งานบัณฑิตและภาคเอกชนผู้รับบริการของหลักสูตรฯ อีกทั้งมีศิษย์เก่าหลายท่านทำงานในอุตสาหกรรมอาหารและบางท่านเป็นผู้ประกอบการแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพด้วย ดังนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้วางแผนจัดโครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพครั้งนี้ขึ้น เพื่อประโยชน์เพิ่มประสิทธิในการทำงานของบุคลากร ศิษย์ปัจจุบัน และศิษย์เก่าให้สูงขึ้น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะการต่อยอดงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหารเพื่อการขอขึ้นทะเบียนอาหาร ลักษณะกิจกรรม1. อบรมโดยบรรยายให้ความรู้2. เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
30 มกราคม 2566     |      3477
ทั้งหมด 2 หน้า