หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Master of Science Program in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University
โครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ
ในวันที่ 25 มกราคม 2566 ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจบัน และบุคลากรเข้าร่วมงานหลักการและเหตุผลของโครงการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stake holders) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายภาคส่วน ทั้งนี้ผู้รับชอบหลักสูตรได้ประเมินแล้วพบว่ากลุ่มศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคลากร คือกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการทำงานที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน (reskill) รวมถึงต้องเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ที่แตกต่างไปหรือสูงขึ้นจากงานเดิมที่ทำอยู่ (upskill) อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีกฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดทั้งระดับชาติและระดับสากลที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการ reskill และ upskill อย่างต่อเนื่องให้กับบุคลากรเหล่านี้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดแรงงานที่ในยุคปัจจุบันได้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมอาหารจัดว่าเป็นกลุ่มงานวิจัยที่มีบุคลากรและศิษย์ปัจจุบันของหลักสูตรให้ความสนใจศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้งานบัณฑิตและภาคเอกชนผู้รับบริการของหลักสูตรฯ อีกทั้งมีศิษย์เก่าหลายท่านทำงานในอุตสาหกรรมอาหารและบางท่านเป็นผู้ประกอบการแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพด้วย ดังนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้วางแผนจัดโครงการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการต่อยอดงานวิจัยในการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพครั้งนี้ขึ้น เพื่อประโยชน์เพิ่มประสิทธิในการทำงานของบุคลากร ศิษย์ปัจจุบัน และศิษย์เก่าให้สูงขึ้น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะการต่อยอดงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหารเพื่อการขอขึ้นทะเบียนอาหาร ลักษณะกิจกรรม1. อบรมโดยบรรยายให้ความรู้2. เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
30 มกราคม 2566     |      3565
นักศึกษาได้รับรางวัลจากการจัดส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมนำเสนอและประกวดในระดับชาติ
ด้วยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย โดยมีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลจากการจัดส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมนำเสนอและประกวดในระดับชาติและนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่นักวิจัย สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดให้มีพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่คณะนักวิจัยดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 19/2565 ในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย ได้มีนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าร่วมรับรางวัล ได้แก่  นางสาวปริญญานุช ปินนิล และนางสาวนิรัชชา สุริยา จากผลงานการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp.pergrina (Craib) Roekm.) ที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเทคนิค HAT-RAPD ร่วมกับอาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย และอาจารย์ ดร.รัฐพร จันทร์เดชนางสาว วราทิพย์ ชวนคิด และชนัญชิดา ทาเจริญ จากผลงาน Chemical Composition and Biological Properties of the Yellow Star (Schoutenia glomerata King subsp.peregrina (Craib) Roekm.) Extracts ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารวี กาญจนประโชติ อาจารย์ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช และอาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุลนอกจากนี้ยังมีผลงานจากบุคลากรในหลักสูตร ได้แก่ "ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต่อการเพิ่มปริมาณต้นเอื้องคำในสภาพปลอดเชื้อ" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ภูมิสุทธาผล และอาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และ "The Golden Orchid (Dendrobium chrysotoxum Lindl.) Extracts polysaccharides, Reducing Sugars, Soluble-Proteins, and Their Antibacterial Properties" โดยนางสาวรุ่งทิพย์ กาวารี อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และอาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุลผลงานดังกล่าวได้รับจากการประชุมวิชาการชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ อาคารเรียนรวม 6 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชทางหลักสูตรฯ จึงขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาและนักวิจัยมาในโอกาสนี้ 
9 พฤศจิกายน 2565     |      353
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพจัดกิจกรรมการสัมมนาระดับบัณฑิตศึกษาประจำภาคการศึกษา 1/2565
ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 หลักสูตรบัณฑิตศึกษา (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดกิจกรรมการนำเสนองานวิจัยและการสัมมนาประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยมีนักศึกษานำเสนอผลงานในระดับมหาบัณฑิต 8 คน และในระดับดุษฎีบัณฑิต 2 คน นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาและคณาจารย์เข้าร่วมฟัง ซักถาม และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการทำวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ยังได้มีการรายงานความก้าวหน้า (progress) ของการทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์เพื่อช่วยติดตามอย่างใกล้ชิด และกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการนำตนเอง (self-motivation) ในการทำวิจัย
27 ตุลาคม 2565     |      317
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ ร่วมจัดโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill)
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ ร่วมจัดโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลักสูตร (Non-Degree) เรื่อง "การผลิตต้นพันธุ์พืชแม่นยำและอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ" สนับสนุนโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมภาคทฤษฎีแบบออนไลน์ (30 ชั่วโมง) ในระหว่างวันที่ 12-13, 16 และ 19-20 กุมภาพันธ์ 2565ภาคปฏิบัติแบบชั้นเรียน (45 ชั่วโมง) ในระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลักการและความสำคัญของการผลิตต้นพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบแม่นยำและอัจฉริยะ และให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยอะพืชพันธุ์พืชต่าง ๆ โดยโครงการในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดกว่า 40 คน
21 ตุลาคม 2565     |      377
ทั้งหมด 2 หน้า